พร หรือการขอพร ขออย่างให้ได้โอกาส ที่จะกระทำสิ่งที่ดีงาม ที่พึงประสงค์ ผู้ให้พร ก็ให้โอกาส ให้ผู้ขอได้กระทำเหตุ อันที่จะอำนวยผลในทางดี ในทางที่พึงประสงค์นั้น
พร และการขอพร ในแง่พระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้จริงนั้น ไม่ขัดกับหลักกรรม คืออยู่บนพื้นฐานของการกระทำของผู้นั้นเอง การให้พร ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้เขาได้ทำเอง หรือสนับสนุนให้กำลังใจเท่านั้น
บารมี เดิมเป็นเหตุให้ถึงความเต็มเปี่ยม เป็นแนวทาง ต่อมาบารมีกลายมีความหมายเป็น ความเต็มเปี่ยม เป็นจุดหมายเสียเอง (ในพระบาลีท่านเรียกบารมีสอบว่า พุทธการกธรรม-ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า มิใช่พุทธธรรม ธรรมของพระพุทธเจ้า)
ข้อนี้น่าคิด ในเรื่องพรนี้ก็เช่นเดียวกัน เดิมเป็นการเลือกที่จะกระทำสิ่งที่ดีงาม เพื่อให้ได้ผลที่ดีงาม หรือเลือกที่จะสร้างเหตุ ที่จะอำนวยผลในทางที่ดีงาม ผู้ให้พร ก็คือผู้เปิดโอกาสให้ผู้นั้นๆ ได้เลือกกระทำตามปรารถนา และ/หรือเป็นผู้ให้กำลังใจเท่านั้น
แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น การขอในสิ่งดีๆ ที่ตนอยากได้ คือขอตามที่ตนอยาก ไม่อยู่บนพื้นฐานของการกระทำ เข้าข่าย การอ้อนวอนร้องขอ ดุจคนขอทานขอข้าวขอเงินทองจากคนอื่น อันเป็น "แนวคิด" ของลัทธิที่เชื่อถือพระเจ้า เชื่อในอำนาจสูงสุดของพระเจ้า
สรุปแล้ว พรแบบพุทธ เดิมก็สอดคล้องกับหลักการพึ่งตน หลักกรรม ทำเหตุเพื่อให้ผลที่สอดคล้องกับเหตุ ดังคำกล่าวที่ว่า สัตวย์โลกย่อเป็นไปตามกรรมหมายความว่า เปลี่ยนไปตามการกระทำของตนเอง ถ้าขยันก็อ่านหนังสือเยอะๆ ตั้งใจเรียนสม่ำเสมอ นั่นหละคือพรที่ประเสริฐที่สุดแล้ว แต่สำหรับคนที่ ขี้เกียจมาตลอด ไม่เคยอ่านหนังสือเลย แล้วมาขอพรให้ทำข้อสอบได้คะแนนเยอะๆ ก็มีคำกล่าวอีกคำกล่าวนึงที่ว่า พระเจ้าก็ยังตกแคลคูลัส แล้วจะมาช่วยเราทำข้อสอบได้ยังไง ฮาฮา
ขอขอบคูฯข้อมูลดีดีจาก UNIGANG
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น